รายละเอียดบนธนบัตรจีน
สกุลเงินของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า เหรินหมินปี้ (人民币 rénmínbì) อักษรย่อ RMB หรือ CNY (Chinese Yuan) โดยธนบัตรจีนแต่ละฉบับจะประกอบด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
สกุลเงินของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า เหรินหมินปี้ (人民币 rénmínbì) อักษรย่อ RMB หรือ CNY (Chinese Yuan) โดยธนบัตรจีนแต่ละฉบับจะประกอบด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
อักษร 鸩 (zhèn) ในภาษาจีนกลางปัจจุบัน หมายถึง วิหคพิษตามตำนานของจีน ว่ากันว่าหากนำขนของมันมาแช่เหล้าก็จะกลายเป็นเหล้าพิษที่สามารถปลิดชีพคนได้ทันที ด้วยเหตุนี้อักษร 鸩 จึงกินความถึง เหล้าพิษหรือการใช้เหล้าพิษสังหารคนอีกด้วย
วัดเส้าหลิน (少林寺) เรียกเป็นภาษาแต้จิ๋วว่า ‘เสี่ยวลิ้มยี่’ คำว่า ‘เส้าหลิน’ (少林) นี้ขนานนามตามที่ตั้งซึ่งอยู่ในป่าไผ่ (竹林) ทางใต้ของยอดเขาอู๋หรู่เฟิง (五乳峰) กลุ่มภูเขาเส้าซื่อซาน (少室山) อันอุดมสมบูรณ์
หวังชง มีชื่อรองว่า จ้งเริ่น (仲任) ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขายอยู่ที่เมืองไคว่จี[1] (會稽) หวังชงกำพร้าบิดาซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวตั้งแต่ยังเล็ก ฐานะทางบ้านจึงค่อนข้างยากจน แต่ถึงกระนั้นเขาก็ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี หวังชงเป็นเด็กฉลาดและใฝ่รู้ เขาเริ่มเรียนอ่านเขียนตั้งแต่อายุ 6 ปี ครั้นอายุได้ 8 ปี ก็เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนในหมู่บ้าน เขามุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการเรียนเป็นอย่างมาก ประกอบกับมีความสามารถโดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่นๆ จึงเป็นที่รักใคร่ของบรรดาอาจารย์ กระทั่งหวังชงอ่านออกเขียนได้อย่างแตกฉาน เขาจึงลาออกจากโรงเรียนและเริ่มศึกษาตำราขงจื่อ (孔子) และเหลาจื่อ (老子) อย่างจริงจัง
เมื่อพูดถึงคำว่า ‘มู่หลาน’ (木蘭) หลายคนอาจจะนึกถึง ‘ฮวามู่หลาน’ (花木蘭) วีรสตรีจีนที่ปรากฏในบทร้อยกรองโบราณก่อนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในภายหลัง ทว่าคำว่า ‘มู่หลาน’ ในบทความนี้เป็นชื่อสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับฮวามู่หลานแต่อย่างใด สถานที่นี้มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า ‘เขตล่าสัตว์มู่หลาน’ (木蘭圍場) อันเป็นเขตล่าสัตว์ประจำราชวงศ์ชิง
‘สุสานยุคราชวงศ์ฮั่นที่เนินหม่าหวังตุย’ ถูกค้นพบโดยบังเอิญ และกระบวนการขุดค้นก็เต็มไปด้วยความอัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง เหตุเกิดเมื่อปลาย ปี ค.ศ. 1971 โหวเหลียง นักโบราณคดีจากพิพิธภัณฑสถาน แห่งมณฑลหูหนานได้รับรายงานว่า ภายในบริเวณฐานทัพทหารแห่งหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า เนินเขาหม่าหวังตุย
คำว่า ‘เปอรานากัน’ (Peranakan) เป็นคำมลายู แปลว่า ‘ถือกำเนิดที่นี่’ ใช้เรียกสายเลือดลูกผสมที่ถือกำเนิดในดินแดนแถบแหลมมลายู แท้จริงแล้วคำว่า ‘เปอรานากัน’ มีความหมายรวมถึง คนที่มีเชื้อสายลูกผสมระหว่างชาวต่างชาติและชาวพื้นเมืองมลายู เช่น ชาวอาหรับเปอรานากัน ชาวดัตช์เปอรานากัน
‘เรจินัลด์ เฟลมิง จอห์นสตัน’ (Reginald Fleming Johnston / 莊士敦 ค.ศ. 1874-1938) เป็นพระอาจารย์ชาวตะวันตกของจักรพรรดิปูยี (溥儀 ค.ศ. 1906-1967) หรือจักรพรรดิเซวียนถ่ง (宣統) จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง (清 ค.ศ. 1636-1912) และเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของประเทศจีน จอห์นสตันเป็นชาวสก็อตแลนด์ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1874 สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระและมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด
พิพิธภัณฑสถานสุสานทหารดินเผาแห่งจักรพรรดิจิ๋นซี (秦始皇兵馬俑博物館) ถูกสร้างขึ้นในบริเวณที่มีการค้นพบสุสานทหารดินเผาและเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ลักษณะสุสานเป็นต้นแบบของสุสานจักรพรรดิในสมัยโบราณที่ใช้การสร้างหุ่นดินเผาแทนการฝังคนทั้งเป็นเพื่อไปเป็นข้ารับใช้จักรพรรดิในภพหน้า เช่น ทหารม้า ทหารราบ
พระกระยาหารของจักรพรรดิแต่ละมื้อนั้นห้องพระเครื่องต้นเตรียมไว้ 4 โต๊ะ แต่ละโต๊ะมีอาหารกว่า 20 ชนิด รวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด ส่วนพระกระยาหารของฮองเฮาและเหล่านางสนมแต่ละมื้อมีประมาณ 40 ชนิด นอกจากนี้ยังมีโจ๊ก ขนมอบ อาหารประเภทหมี่ และเครื่องเคียง (คือเครื่องจิ้ม เครื่องแนม) ต่างๆ