ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน

เรียนรู้จากสวินจื่อ

2021-12-03T14:53:00+07:00ธันวาคม 3rd, 2021|

ยุคชุนชิวจั้นกั๋ว (春秋战国 770-221 ปีก่อนคริสตกาล) หลังราชสำนักโจวเสื่อมโทรม สังคมกำลังวุ่นวายกับสงครามชิงอำนาจระหว่างรัฐ ในเวลานั้นผู้คนต่างต้องการแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดให้สังคม ปัญญาชนทั้งหลายจึงพากันแสดงความคิดเห็นและเสนอทฤษฎีการแก้ปัญหาตามแนวคิดของตน เป็นเหตุให้ค่อยๆ ปรากฏเป็นสำนักปรัชญามากมายหลายแขนง อาทิ เหลาจื่อ ขงจื่อ เมิ่งจื่อ สวินจื่อ ม่อจื่อ หานเฟยจื่อ เป็นต้น นักคิดเหล่านี้ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือทำให้สังคมที่กำลังวุ่นวาย จริยธรรมเสื่อมโทรมนั้น ได้พบกับความสงบสุข

เหตุใดชาวจีนจึงเรียกตนเองว่า “ลูกหลานของมังกร”?

2021-11-22T17:10:01+07:00พฤศจิกายน 22nd, 2021|

หลายคนเข้าใจว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติจีน จึงเรียกประเทศจีนว่า ‘แผ่นดินมังกร’ หรือแม้แต่ชาวจีนเองก็เรียกตัวเองว่า ‘龙的传人’ ซึ่งหลายคนแปลว่า ‘ลูกหลานของมังกร’

อารยธรรมหลงซาน: อารยธรรมก่อนสมัยราชวงศ์ของจีน

2021-11-15T10:43:06+07:00พฤศจิกายน 15th, 2021|

จุดเด่นของอารยธรรมหลงซานคือ ‘เครื่องปั้นดินเผาดำ’ (黑陶) ที่มีความบาง แข็งแรง ทนทาน และเป็นเงางาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาดำเปลือกไข่ (蛋殼黑陶) ซึ่งพบที่เมืองยรื่อเจ้า (日照) และจี่หนาน (濟南) ด้วยเหตุนี้อารยธรรมหลงซานจึงมีอีกชื่อว่า ‘อารยธรรมเครื่องปั้นดินเผาดำ’ (黑陶文化)

องครักษ์ในพระราชวังต้องห้ามต้องถูกตอนหรือไม่

2021-11-08T10:01:46+07:00พฤศจิกายน 8th, 2021|

สมัยโบราณไม่มีผู้ชายอยู่ในในพระราชวังนอกจากจักรพรรดิ ผู้ชายที่เหลือก็ถูกตอนจนกลายเป็นขันที จึงมีผู้สงสัยว่าองครักษ์ผู้รักษาความปลอดภัย มีร่างกายกำยำล่ำสันต้องถูกตอนหรือไม่

อารยธรรมหย่างเสา: เสาหลักอารยธรรมจีน

2021-10-25T11:31:10+07:00ตุลาคม 25th, 2021|

อารยธรรมหย่างเสา (仰韶文化) เป็นอารยธรรมยุคหินใหม่ของผู้คนในแถบตอนกลางของลุ่มแม่น้ำฮวงโห (黃河) ซึ่งอยู่ระหว่างมณฑลกานซู่ (甘肅省) กับมณฑลเหอหนาน (河南省) ในปัจจุบัน อารยธรรมนี้อยู่ในช่วงเวลาราว 5000-3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช แบ่งได้เป็น 3 ช่วงย่อยคือ ช่วงต้น (ราว 5000-4900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ช่วงกลาง (ราว 4900-3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ช่วงปลาย (ราว 3500-2900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีเอกลักษณ์คือมีการปั้นเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี (彩陶)

พระเอกในเรื่อง ‘หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า’ แท้จริงแล้วอาจไม่ได้เลี้ยงวัว แต่เลี้ยง ‘ควาย’

2021-10-15T14:41:24+07:00ตุลาคม 15th, 2021|

รู้หรือไม่… ตามท้องเรื่อง ‘หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า’ พระเอกนามว่าหนิวหลาง (牛郎) นั้น ไม่ได้เลี้ยงวัวเพียงอย่างเดียว และตัว ‘牛’ ที่เขาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เด็กและกลายเป็นเพื่อนคู่ใจของเขาในภายหลังนั้น แท้จริงอาจจะเป็น ‘ควาย’ !

เหตุใดคนจีนสมัยโบราณถึงเขียนอักษรเป็นแนวตั้ง?

2021-10-07T11:45:54+07:00ตุลาคม 7th, 2021|

ปกติเราเขียนและอ่านหนังสือจากทางซ้ายไปทางขวา แต่คนจีนในสมัยโบราณจะเขียนและอ่านหนังสือจากขวาไปซ้าย มีเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1. ลักษณะหนังสือของยุคโบราณ 2. วิธีการเขียนและอ่านหนังสือของคนยุคโบราณ  3. อักษรจีนในยุคแรกเริ่มมีลักษณะเป็นอักษรภาพ ซึ่งไม่ใช่การสะกดคำ

ก่วนจ้ง: มหาเสนาบดีสีเทาผู้ยากจะนิยาม

2021-09-24T16:33:35+07:00กันยายน 24th, 2021|

หากพูดถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนอย่างขงจื่อ (孔子) เหลาจื่อ (老子) เมิ่งจื่อ  (孟子) หรือแม้แต่สวินจื่อ (荀子) เชื่อว่าคนไทยหลายต่อหลายคนคงได้ยินผ่านหูมาบ้าง  แต่มีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนอีกท่านหนึ่งที่ยังไม่ค่อยปรากฏสู่สายตาคนไทยและยังไม่ค่อยได้รับการพูดถึงเท่าใดนัก นั่นก็คือ ก่วนจ้ง (管仲) หรือก๋วนจื่อ  (管子)

หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่ (国之四维)

2021-09-06T15:43:01+07:00กันยายน 6th, 2021|

‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ (国之四维) ได้รับการบันทึกไว้ในบท ‘มู่หมิน’ (牧民) ซึ่งเป็นบทแรกในตำรา ‘ก๋วนจื่อ’ (管子) อันเป็นตำราที่อนุชนได้รวบรวมภูมิปัญญาความคิดของก่วนจ้ง (管仲 มหาเสนาบดีสมัยชุนชิว) เอาไว้ ตำราเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายด้าน ทั้งเรื่องการปกครองบ้านเมือง การวางระบบกฎหมาย การจัดระเบียบสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ  อีกทั้งยังสอดแทรกแนวคิดของลัทธิขงจื๊อ (儒家) ลัทธิเต๋า (道家) และลัทธินิติธรรมนิยม (法家) เข้าไว้อีกด้วย

‘พัคบุลฮวา’ ขันทีชาวเกาหลีผู้ทรงอิทธิพลในราชวงศ์หยวน

2021-08-27T15:15:11+07:00สิงหาคม 27th, 2021|

เมื่อกล่าวถึง ‘ขันที’ เรามักนึกถึงชายชาวจีนที่ถูกตอนอวัยวะเพศ และคอยปรนนิบัติรับใช้อยู่ภายในวังหลวงจีนสมัยโบราณ น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในประวัติศาสตร์จีนไม่ได้มีเพียงเพียงชายชาวจีนเท่านั้น แต่ยังมีขันทีต่างชาติอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกส่งตัวมาจากแคว้นน้อยใหญ่เสมือนทูตบรรณาการเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรจีนผู้ยิ่งใหญ่

Go to Top