ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน

เฉินหยวนหยวน: สาวงามผู้พลิกโฉมประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง

2024-01-10T08:54:18+07:00มกราคม 10th, 2024|

เฉินหยวนหยวน (陈圆圆 ค.ศ.1623 - 1689 หรือ 1695) เดิมแซ่สิง (邢) ชื่อหยวน (沅) เกิดในตระกูลพ่อค้าหาบเร่อยู่ที่เมืองอู่จิ้น (武进 ปัจจุบันคือ เมืองฉางโจว 常州 ในมณฑลเจียงซู) ได้รับการเลี้ยงดูจากน้าเขย จึงเปลี่ยนไปใช้แซ่ “เฉิน” (陈) ตามน้าเขย นับเป็นสตรีผู้มีความงดงามเพียบพร้อมไปด้วยความสามารถทั้งด้านการเขียนพู่กัน หมากรุก วาดรูปและพิณโบราณ

อู๋ซานกุ้ย บุรุษผู้อยู่เบื้องหลังการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์จากหมิงสู่ชิง

2024-01-05T11:27:22+07:00มกราคม 5th, 2024|

ช่วงเวลาคาบเกี่ยวระหว่างราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง อู๋ซานกุ้ย แม่ทัพหนุ่มแห่งราชสำนักหมิง ได้กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยการร่วมมือกับทหารชิงเปิดด่านซานไห่กวน ซึ่งตนทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าด่านอยู่ ส่งผลให้ทหารชิงสามารถยึดนครปักกิ่ง ปิดฉากราชวงศ์หมิงและสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นในเวลาต่อมา แต่เมื่อผ่านไปอีก 30 ปี อู๋ซานกุ้ยกลับก่อกบฏต่อราชวงศ์ชิงขึ้นอีกครั้ง โดยยึดครองดินแดนฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของจีน คือบริเวณมณฑลยูนนานในปัจจุบัน

“น่านเจ้า” อาณาจักรโบราณที่เลือนหาย

2023-12-19T14:46:37+07:00ธันวาคม 19th, 2023|

นับแต่สมัยราชวงศ์ฉินเป็นต้นมา ชาวจีนจงหยวน มักอ้างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ “จวงเฉียวรู่เตียน” เพื่อถือสิทธิ์ครอบครองดินแดนยูนนาน ทว่าในทางภูมิศาสตร์ ดินแดนยูนนานอยู่ห่างจงหยวนมาก จักรพรรดิจึงมิอาจปกครองโดยใช้อำนาจเบ็ดเสร็จได้ อีกทั้งมีอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งเคยแผ่อิทธิพลไปถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ผงาดขึ้นเป็นรัฐอิสระทรงพลังในอาณาบริเวณนี้ในสมัยราชวงศ์ถัง

อิทธิพลของเรื่องสยองขวัญและภูตผีปีศาจจีนในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

2023-11-30T09:42:03+07:00พฤศจิกายน 30th, 2023|

ญี่ปุ่นเป็นชาติหนึ่งที่รับวัฒนธรรมจากจีนมาช้านาน นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย (隋 ค.ศ. 581 - 619) ของจีนเป็นอย่างน้อย วัฒนธรรมจีนได้กลายเป็นรากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นในหลายด้าน รวมถึงสิ่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของญี่ปุ่นอย่างตำนานภูตผีปีศาจและสิ่งมีชีวิตพิสดาร ซึ่งวัฒนธรรมจีนก็สามารถแทรกซึมเข้าไปได้อย่างแนบเนียน ภูตผีปีศาจของจีนจำนวนหนึ่งจึงเข้าไปโลดแล่นในปกรณัมภูตผีปีศาจของญี่ปุ่นด้วย

ย้อนรอยตระกูลต้วนแห่งต้าหลี่

2023-11-01T10:48:17+07:00พฤศจิกายน 1st, 2023|

ในยุทธจักรอันกว้างใหญ่ ซึ่งเปี่ยมด้วยบรรดาจอมยุทธ์และวิทยายุทธ์สุดพิสดารนั้น “กระบี่หกชีพจร” (六脈神劍) และ“ดรรชนีเอกสุริยัน” (一陽指) ถือว่าเป็นสองยอดกระบวนท่าของตระกูลต้วน (段氏) แห่งอาณาจักรต้าหลี่ (大理國 ค.ศ. 937 – 1094, 1096 - 1254)[1] ที่ยากจักหากระบวนท่าใดทัดเทียม

เล่าเรื่อง “เทศกาลกินเจ”

2023-10-20T09:57:34+07:00ตุลาคม 20th, 2023|

เทศกาลกินเจคืออะไร? เหตุใดจึงนิยมในประเทศไทย? แล้วประเทศจีนมีการกินเจหรือไม่? เชื่อว่าคำถามเหล่านี้คงจะปรากฏขึ้นในความคิดของผู้อ่านหลายท่านเมื่อถึงเทศกาลกินเจประจำทุกปี วันนี้อาศรมสยามฯ จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้แก่ทุกท่านเอง

กรณีสวรรคตพระนางซูอันไทเฮา: เงื่อนงำในคดีข้ามศตวรรษ

2023-09-26T11:11:21+07:00กันยายน 26th, 2023|

หากกล่าวถึงการว่าราชการหลังม่านในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ผู้อ่านทั่วไปมักนึกถึงพระนางซูสีไทเฮา ทว่ายังมีขัตติยนารีอีกหนึ่งพระองค์ที่ว่าราชการเคียงบ่าเคียงไหล่พระนางซูสีไทเฮาเป็นระยะเวลาสองทศวรรษ นั่นคือสมเด็จพระพันปีหลวงฉืออัน หรือพระนางซูอันไทเฮา ฮองเฮาในจักรพรรดิเสียนเฟิงแม้เรื่องราวชีวิตของพระนางจะมิได้เป็นที่กล่าวขานของชนรุ่นหลังเฉกเช่นพระนางซูสีก็ตาม

หลานไฉ่เหอ: ข้อถกเถียงว่าด้วยตัวตนและเพศสภาพของเซียนตะกร้าดอกไม้

2023-09-06T10:08:35+07:00กันยายน 6th, 2023|

หลานไฉ่เหอ (藍采和 สำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า “หน่าไฉฮั้ว”) เป็นนามของเซียนตนหนึ่งในคณะแปดเซียน (八仙 ปาเซียน หรือ โป๊ยเซียน) มีภาพลักษณ์เป็นเซียนวัยหนุ่ม1 ผูกผมสองจุก สวมเสื้อผ้าขาดกะรุ่งกะริ่ง ในมือถือตะกร้าดอกไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนการป้องกันและบรรเทาโรคภัย

บูเช็กเทียนปลิดชีพพระธิดา ปริศนาแห่งตราบาปก่อนครองอำนาจในราชบัลลังก์

2023-07-27T15:06:47+07:00กรกฎาคม 27th, 2023|

เรื่องราวของบูเช็กเทียน หรือ “อู่เจ๋อเทียน” (武則天 ค.ศ. 624 - 705) เป็นหนึ่งในหัวข้อประวัติศาสตร์จีนที่มีผู้สนใจกันมาก ในฐานะจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวเหนือบัลลังก์มังกร ระยะเวลาราวกึ่งศตวรรษที่ทรงครองแผ่นดินจีน ถือเป็นยุคทองยุคหนึ่งของราชวงศ์ถัง (唐 ค.ศ. 618 - 907) อย่างไม่มีข้อคัดค้าน

หมากล้อม: ยุทธปัญญาบนเกมกระดาน

2025-03-14T09:53:00+07:00กรกฎาคม 5th, 2023|

หมากล้อม (圍棋) หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ “โกะ” (GO) เป็นหมากกระดานชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยผู้เล่นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งวางหมากสีดำ อีกฝ่ายหนึ่งวางหมากสีขาว เป้าหมายของการเล่นคือฝ่ายใดยึดครองพื้นที่ได้มากกว่า ฝ่ายนั้นย่อมเป็นผู้ชนะ

Go to Top